ระบบสารสนเทศ

งานระบาดวิทยา/โรคติดต่อ

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ส.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ มิ.ย.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ พ.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ เม.ย.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ มี.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.พ.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ม.ค.2567

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2566

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2565

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2564

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2563

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2562

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2561

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2560

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2559

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2558

สถานการณ์โรคโคโรนาไวรัส(COVID-19)

ศูนย์ปฎิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโคโรนาไวรัส(COVID-19)สสจ.อย

สถานการณ์โรค สำนักระบาด

 

สถานการณ์ไข้ซิก้า(Zika)

สถานการณ์โรคอีโบล่า

สถานการณ์โรคเมอร์ส

วีดีโอความรู้เรื่องโรคเมอร์ส

แผ่นพับ โรคมือเท้าปาก

แผ่นพับ โรคไข้หวัดใหญ่

คู่มือ คนเลี้ยงสุนัข

ปฏิทิน

September 2024
Mo Tu We Th Fr Sa Su
26 27 28 29 30 31 1
2 3 4 5 6 7 8
9 10 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 21 22
23 24 25 26 27 28 29
30 1 2 3 4 5 6

สถิติการใช้งาน

Today68
Yesterday120
This week803
This month1459
Total127414

Visitor IP : 44.222.131.239 Visitor Info : Unknown - Unknown วันศุกร์, 13 กันยายน 2567 09:25

Who Is Online

Guests : 2 guests online Members : No members online
Powered by CoalaWeb

 

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
  หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันว่า  โรคกลัวน้ำ   เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ  เรบี่ส์ไวรัส (Rabies  Virus)  มีรูปร่างคล้ายกระสุนปืน  เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์แล้วจะเดินทางไปตามเส้นประสาทเข้า สู่สมอง ที่สำคัญ เมื่อเกิดอาการขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้  ต้องเสียชีวิตทุกราย แต่ โรคนี้ป้องกันได้และสามารถทำให้หมดไปจากคนและสัตว์เลี้ยง ในหลายประเทศยังมีผู้เสียชีวิตในพื้นที่ที่ควบคุมโรคในสุนัขไม่ได้  ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) กลุ่มสหวิชาชีพทั่วโรคได้ร่วมกันก่อตั้งองค์กรเพื่อการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า (Global Alliance for Rabies Control) ซึ่งต่อมาได้มีการกำหนดให้มีวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลกขึ้นในเดือนกันยายน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวต่อการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงสุนัขและป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกและองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศร่วมสนับ สนุน พร้อมใจกันกำหนดให้วันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก

 
ไม่ได้เกิดกับสุนัขเท่านั้น
ชื่อของโรคทำให้เข้าใจกันผิดคิดว่าโรคนี้เกิดกับสุนัขเท่านั้น  แท้ที่จริงแล้วโรคนี้เกิดกับสัตว์เลือดอุ่นด้วย  โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด  เช่น  แมว ชะนี ลิง กระรอก กระแต หนู ค้างคาว  แม้แต่สัตว์เศรษฐกิจอย่าง วัว ควาย ม้า สุกร พบในตัวที่มีประวัติเคยถูกสุนัขบ้ากัดมาก่อน  หรือสัตว์ป่าในเมืองไทยพบว่า  สุนัขเป็นตัวแพร่เชื้อที่สำคัญมากที่สุด กว่า 95% ของผู้เสียชีวิตมีสาเหตุมาจากสุนัข รองมาคือ  แมว
 
การติดต่อ
สุนัขและแมวที่ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า  สามารถแพร่เชื้อได้ทางน้ำลาย  เพราะเชื้อจะออกมาในน้ำลายเป็นระยะตั้งแต่ 1 – 7  วันก่อนแสดงอาการจนกระทั่งตาย  คนเราจะติดเชื้อนี้ก็ต่อเมื่อ
 
  • ถูกสัตว์ที่เป็นโรคนี้กัดหรือข่วน
  • ถูกสัตว์ที่เป็นโรคนี้เลียหรือน้ำลายสัตว์กระเด็นเข้าแผลรอยขีดข่วนหรือ เยื่อบุเมือกบุตา  จมูก  ปาก  (ถ้าน้ำลายถูกผิวหนังปกติ  ไม่มีรอยข่วนหรือบาดแผล  ไม่มีโอกาสติดโรค)
  • การติดต่อโดยการหายใจ  มีโอกาสน้อยมาก  ยกเว้นมีจำนวนไวรัสในอากาศเป็นจำนวนมาก  เช่น  ในถ้ำค้างคาว
  • การติดต่อโดยการกินเกิดขึ้นได้ยาก  ไม่เคยมีรายงานตามธรรมชาติ  เช่นเดียวกับการติดต่อจากคนไปสู่คน  ในธรรมชาติก็ไม่เคยมีรายงานเช่นกัน
อาการที่พบในสัตว์

ส่วนใหญ่สุนัข แมว วัว ควาย มีระยะพักตัวไม่เกิน 6 เดือน

ระยะเริ่มแรก  มีอาการประมาณ 2 – 3  วัน  โดยสุนัขจะมีอารมณ์และอุปนิสัยเปลี่ยนไปจากเดิม  เช่น  สุนัขที่ชอบคลุกคลีกับเจ้าของ  จะปลีกตัวออกไปหลบซุกตัวเงียบๆ  มีอารมณ์หงุดหงิด ตัวที่เคยขลาดกลัวคนก็จะกลับมาคลอเคลีย  เริ่มมีไข้เล็กน้อย  ม่านตาขยายกว้างกว่าปกติ  การตอบสนองต่อแสงของตาลดลง  กินข้าวกินน้ำน้อยลง  ลักษณะการเคี้ยวหรือกลืนผิดไป

ระยะตื่นเต้น  คือ  เริ่มมีอาการทางปราสาท  สุนัขจะกระวนกระวาย  ตื่นเต้น  หงุดหงิด  ไม่อยู่นิ่ง  
กัด แทะสิ่งของ  สิ่งแปลกปลอม  กัดทุกสิ่งไม่เลือกหน้า  ถ้ากักขังหรือล่ามไว้  จะกัดกรงหรือโซ่จนเลือดกบปาก  โดยไม่เจ็บปวด  เสียงเห่าหอนจะเปลี่ยนไป  ตัวแข็ง 

ระยะอัมพาต  สุนัขจะมีคางห้อยตก  ลิ้นมีสีแดงคล้ำห้อยออกนอกปาก  น้ำลายไหล  และไม่สามารถใช้ลิ้นได้เลย  สุนัขอาจแสดงอาการขยอกหรือขย้อนคล้ายมีอะไรอยู่ในลำคอ  ขาอ่อนเปลี้ยทรงตัวไม่ได้  ล้มลงแล้วลุกไม่ได้  อัมพาตขึ้นทั่วตัวอย่างรวดเร็วและตายในที่สุด อาการสุนัขบ้ามีทั้งแบบดุร้ายและแบบซึม

  สุนัข ที่แสดงอาการแบบดุร้าย จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นให้เห็นเด่นชัดและยาวนาน  แต่จะแสดงอาการในระยะอัมพาตสั้นมาก 
    ที่แสดงอาการแบบซึม จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้นมากจนไม่ทันสังเกตเห็น  แต่จะแสดงอาการในระยะอัมพาตเด่นชัด
  แมว อาการคล้ายสุนัขแต่ไม่ชัดเจน  และพบอาการแบบดุร้ายมากกว่าแบบซึม สุนัขและแมวที่เป็น   โรคพิษสุนัขบ้าจะแสดงอาการป่วยจนกระทั้งตายไม่เกิน 10 วัน
  โค กระบือ อาการจะตื่นเต้น กระสับกระส่าย  เดินโซเซ  มักมีอาการคล้ายมีอะไรติดคอ  น้ำลายไหลยืด  ท้องอืดป่อง  อัมพาตและตาย
 
ระยะฟักตัวของโรค
หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อเข้าร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการบางรายอาจนานเกิน 1 ปี  บางรายอาจเร็วเพียง 4 วัน  แต่โดยเฉลี่ย 3 สัปดาห์ถึง 4 เดือน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
 
  1. จำนวนเชื้อที่เข้าไป (บาดแผลใหญ่ ลึกหรือมีหลายแผล มีโอกาสที่เชื้อจะเข้าไปได้มาก)
  2. ตำแหน่งที่เชื้อเข้าไป (ถ้าอยู่ใกล้สมองมาก  เชื้อก็จะเดินทางไปถึงสมองได้เร็วหรืออยู่ในที่มีปลายประสาทมาก  เช่น  มือหรือเท้า  เชื้อก็จะเข้าสู่ระบบประสาทได้ง่าย)
  3. อายุคนที่ถูกกัด
    (เด็กและคนชราจะมีความต้านทานของโรคต่ำกว่าคนหนุ่มสาว)
  4. สายพันธุ์ของเชื้อ  ถ้าเป็นสายพันธุ์จากสัตว์ป่า  จะมีอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์จากสุนัข
อาการที่พบในคน
สำหรับอาการของคนที่ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า  ส่วนใหญ่มีอาการของสมองอักเสบ  และไขสันหลังอักเสบ  โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย  ต่อมามีอาการคัน  มักเริ่มจากบริเวณแผลที่ถูกกัด แสบๆ ร้อนๆ แล้วลามไปส่วนอื่น  บางคนคันมากเกาจนกลายเป็นแผลอักเสบ  มีน้ำเหลือง  ต่อมาจะกระสับกระส่าย  กลัวแสงกลัวลม  ไม่ชอบเสียงดัง  เพ้อเจ้อ  หลุกหลิก  กระวนกระวาย  หนาวสั่น  ตามักเบิกโพลงบ่อยๆ บางครั้งเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคทางจิต  มีอาการกลืนลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเหลว  จะเกิดอาการปวดเกร็งทำให้ไม่อยากดื่มน้ำมีอาการกลัวน้ำ  จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  โรคกลัวน้ำ  ไม่อยากกลืนแม้กระทั่งน้ำลาย จึงทำให้น้ำลายไหล  บางคนอาจปวดท้องน้อยและขา  คนไข้เพศชายบางรายมีน้ำอสุจิไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว  กล้ามเนื้อกระตุก  แน่นหน้าอก  หายใจไม่ออกหรืออาจชักเกร็ง  อัมพาต  หมดสติและตายในที่สุด
 
เมื่อถูกกัดทำอย่างไร
ถ้าถูกสุนัขบ้ากัด  หรือสงสัยว่าบ้ากัด  ข่วน  หรือเลียตามบาดแผล  ให้รีบปฏิบัติดังนี้
 
  1. รีบล้างแผลให้เร็วที่สุดด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ  ครั้ง  ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ  เพราะจะทำให้เชื้อโรคต่างๆ  ที่บริเวณนั้นหลุดออกจากแผลไปตามน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า  หรือเชื้อโรคอื่นๆ  แล้วเช็ดแผลให้แห้ง  ใส่ยาฆ่าเชื้อ  เช่น  โพวิโดนไอโอดีน  ถ้าไม่มีอาจใช้แอลกอฮอล์ 70%  หรือทิงเจอร์ไอโอดีน  หรือยาฆ่าเชื้ออื่นๆ  แทน
  2. ต้องจดจำลักษณะและสังเกตอาการสัตว์ที่กัด  รวมทั้งติดตามสืบหาเจ้าของเพื่อซักถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้า  ที่มาของสัตว์และสังเกตอาการสัตว์ที่กัด 10 วัน (สุนัขคอกเดียวกัน พันธุ์เดียวกัน  สีเดียวกัน  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  อาจจำผิดตัวได้)
  3. ไปพบแพทย์เพื่อรับการป้องกันรักษาที่ถูกต้อง  ถ้ามีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า  แพทย์จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในปัจจุบัน
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ใช้ฉีดคนในปัจจุบันไม่ต้องฉีดรอบสะดือทุกวัน เหมือนแต่ก่อนแล้ว ฉีดเพียง 4 – 5 เข็ม  ฉีดได้ทั้งในเด็กและสตรีมีครรภ์

 

ข้อแนะนำเมื่อถูกสุนัข หรือแมวกัด

 

►ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด-ฟอกสบู่ โดยเร็ว

พบแพทย์เพื่อพิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำแผล และรับการรักษา

►มารับวัคซีน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ตรงวันนัด

►กักสุนัขและดูอาการสุนัขหรือแมว 10- 14วัน ถ้าสุนัขหรือแมวปกติดี ให้หยุดฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้

►ถ้าสุนัข/แมวมีอาการผิดปกติ หนีหายหรือตาย ภายใน 10-14วัน ให้สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ต้องรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามนัดต่อให้ครบ

(กรณีถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นกัด เช่น ลิง กระรอก ค้างคาว ให้ฉีดวัคซีนให้ครบตามนัด)

►มารับการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลผักไห่ครั้งต่อไป โปรดติดต่อห้องบัตรพร้อมบัตรนัด ทุกครั้ง (มานอกเวลาราชการได้)

►สอบถามโทร.035-391306 ต่อ146  ร.พ.ผักไห่

 

****สุนัขกัด ล้างแผล ใส่ยา กักสุนัข พบหมอ****

*********

ผู้อำนวยการ

 

นายแพทย์วัชระ  รักวาทิน

ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

โทร.035391306ต่อ112

ประกาศจัดซื้อ / จัดจ้าง

ชมรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

ร้องเรียน/คิดเห็น

 

ประกาศประกวดราคา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

share