ระบบสารสนเทศ

งานระบาดวิทยา/โรคติดต่อ

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ต.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.ย.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ส.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ มิ.ย.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ พ.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ เม.ย.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ มี.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.พ.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ม.ค.2567

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2566

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2565

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2564

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2563

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2562

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2561

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2560

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2559

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2558

สถานการณ์โรคโคโรนาไวรัส(COVID-19)

ศูนย์ปฎิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโคโรนาไวรัส(COVID-19)สสจ.อย

สถานการณ์โรค สำนักระบาด

 

สถานการณ์ไข้ซิก้า(Zika)

สถานการณ์โรคอีโบล่า

สถานการณ์โรคเมอร์ส

วีดีโอความรู้เรื่องโรคเมอร์ส

แผ่นพับ โรคมือเท้าปาก

แผ่นพับ โรคไข้หวัดใหญ่

คู่มือ คนเลี้ยงสุนัข

ปฏิทิน

November 2024
Mo Tu We Th Fr Sa Su
28 29 30 31 1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 1

สถิติการใช้งาน

Today61
Yesterday133
This week337
This month708
Total135593

Visitor IP : 44.211.34.178 Visitor Info : Unknown - Unknown วันพุธ, 06 พฤศจิกายน 2567 11:59

Who Is Online

Guests : 5 guests online Members : No members online
Powered by CoalaWeb

 

โรคตาแดง  หมายถึงเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อมักติดต่อกันได้ง่าย  เชื้อที่ทำให้เกิดโรคตาแดงที่พบได้บ่อยได้แก่  เชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรีย
          เยื่อบุตาหมายถึงส่วนที่เป็นตาขาว  ลักษณะเป็นเยื่อบางๆ สีขาว  ห่อหุ้มลูกตาด้านนอก  เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นจะเห็นเป็นสีแดง  มากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ

 


โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส
          เป็นโรคระบาดทางตาที่พบได้บ่อย  มักมีการระบาดเป็นช่วงๆ  เป็นประจำทุกปี  ส่วนใหญ่เป็นในช่วงฤดูฝนติดต่อกันได้ง่ายและรวดเร็ว  การติดต่อของโรคเกิดโดยตรงจากการสัมผัส  การใช้ของร่วมกัน  การไอจาม  แม้กระทั่งการหายใจรดกันก็อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายได้  หลังจากได้รับเชื้อแล้วจะทำให้เกิดอาการภายใน 1-2 วัน  และเมื่อเกิดเป็นตาแดงขึ้น  จะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นนานถึง 2 สัปดาห์
อาการ
          ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการตาแดงอย่างเฉียบพลัน  เคืองตามาก  เคืองแสง  เจ็บตา  น้ำตาไหล  ตาบวม  มักไม่มีขี้ตาหรือมีขี้ตาเป็นเมือกใสๆ  เล็กน้อย  ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาจึงจะมีขี้ตามาก  บางคนมีต่อมน้ำเหลืองหน้าใบหูโตและเจ็บ  ผู้ที่เป็นตาแดงมักเป็นกับตาข้างหนึ่งก่อน  ต่อมาอีก 2-3 วัน  อาจลุกลามเป็นกับตาอีกข้างหนึ่งได้  ระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน
          ในบางรายเมื่ออาการตาแดงดีขึ้น  อาจเกิดมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้  คือ  กระจกตาอักเสบ  (กระจกตา หมายถึง  ส่วนที่เป็นตาดำ  ลักษณะเป็นวงกลมอยู่ตรงกลางลูกตาด้านหน้า)  โดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการตามัวลง  และยังเคืองตาอยู่ทั้งๆ ที่อาการดีขึ้นแล้ว  มักเกิดในช่วงวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง  กระจกตาอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเป็นนานเป็นเดือนกว่าจะ หาย
การรักษา
          เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส  จึงยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ  ยาต้านไวรัสต่างๆ  ที่มีอยู่ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสชนิดนี้  ส่วนใหญ่จึงให้การรักษาตามอาการ  เช่น
          • ให้ยาปฏิชีวนะหยอดตาและป้ายตา  เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดตามมา  หยอดยาเฉพาะตาข้างที่เป็น  ไม่ควรหยอดตาข้างที่ยังไม่เป็น  เพราะจะเป็นการแพร่เชื้อไปยังตาข้างนั้นและไม่ควรใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น
          • ถ้าตาอักเสบมาก  แพทย์อาจพิจารณาให้ยาหยอดลดอาการอักเสบ
          • รับประทานยาแก้ปวด  เช่น  ยาพาราเซตามอลถ้ามีอาการเจ็บตา  เคืองตา
          • ถ้ามีขี้ตา  ให้ใช้สำลีชุบน้ำสะอาด  เช่น  น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว  เช็ดบริเวณเปลือกตาให้สะอาด  ใส่แว่นกันแดด  เพื่อลดอาการเคืองแสง  ไม่ควรใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้การติดเชื้อเป็นมากขึ้น  งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าจะหายอักเสบ  พักผ่อนให้เต็มที่และพักการใช้สายตา
 

การป้องกัน
          การป้องกันการติดโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส  เป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องจากติดต่อกันได้ง่ายมาก  และเมื่อเป็นแล้วก็ยังไม่มียาที่รักษาได้โดยตรง  มักติดต่อในกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน  ทำงานร่วมกัน  การป้องกันไม่ให้มีการระบาดแพร่กระจายโรคสามารถทำได้โดย
          • การแยกผู้ป่วย  เช่นเด็กเล็กที่ยังไม่รู้จักป้องกันการแพร่กระจายโรค  ควรให้หยุดเรียน  และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก  ควรหยุดงาน
          • ผู้ที่เป็นไม่ควรจับต้องบริเวณดวงตา  หรือขยี้ตาเพราะเชื้อโรคอาจติดไปยังสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ได้และไม่ใช้สิ่งของ  เช่น  ผ้าเช็ดหน้า  ผ้าเช็ดมือ  เสื้อผ้าปะปนกับผู้อื่น  ไม่พูดไอจามรดผู้อื่น
          • ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด


โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย
          โรคตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุตาเช่นเดียวกับเชื้อไวรัส  ผู้ที่เป็นจะมีอาการตาแดง  เคืองตา  เจ็บตา  มีขี้ตามากลักษณะข้นๆ แบบหนอง  ตื่นนอนตอนเช้ามักมีขี้ตามากจนทำให้เปลือกตาติดกัน  อาการมักไม่เฉียบพลันและรวดเร็วเท่าโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส  โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อจึงติดต่อไปยังผู้อื่นได้และพบว่าเป็นได้เรื่อยๆ  โดยไม่ต้องมีการระบาดเป็นช่วงๆ



   
          โรคนี้สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตาและป้ายตาในช่วงแรก  ถ้าเป็นมากแพทย์มักสั่งให้หยอดยาบ่อยๆ  เช่นทุก 1-2 ชั่วโมง  ถ้าอาการดีขึ้นแล้วให้หยอดยาห่างขึ้นเป็นหยอดทุก 4-6 ชั่วโมง  ส่วนยาขี้ผึ้งป้ายตามักให้ป้ายก่อนนอนเพื่อให้ได้รับยาต่อเนื่องไปตลอดทั้ง คืน  ยาขี้ผึ้งป้ายตาถ้าใช้ในเวลากลางวันจะรบกวนการมองเห็น  จึงไม่ค่อยสะดวกในการใช้  ยกเว้นในเด็กเล็ก  หลังการใช้ยาอาการมักดีขึ้นภายใน 2-3 วัน  และหายภายใน 1 สัปดาห์  การดูแลรักษาอื่นๆ  และการป้องกันให้ปฏิบัติในทำนองเดียวกับโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส
          อาการตาแดง  นอกจากจะเกิดจากโรคตาแดงดังได้กล่าวมาแล้ว  ยังสามารถพบอาการนี้ในโรคตาอื่นๆ  อีกหลายโรค  โดยมีลักษณะของเยื่อบุตาเป็นสีแดงๆ คล้ายคลึงกัน  บางโรคเป็นโรคที่มีอันตรายอาจทำให้เกิดการสูญเสียสายตาได้  เช่น  ต้อหิน  กระจกตาติดเชื้อ  ม่านตาอักเสบดังนั้นเมื่อเกิดมีอาการตาแดงขึ้น  ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์  ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง

       

ผู้อำนวยการ

 

นายแพทย์วัชระ  รักวาทิน

ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

โทร.035391306ต่อ112

ประกาศจัดซื้อ / จัดจ้าง

ชมรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

ร้องเรียน/คิดเห็น

 

ประกาศประกวดราคา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

share