ระบบสารสนเทศ

งานระบาดวิทยา/โรคติดต่อ

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ มี.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.พ.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ม.ค.2567

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ธ.ค.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ พ.ย.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ต.ค.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.ย.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ส.ค.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.ค.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ มิ.ย.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ พ.ค.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ เม.ย.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ มี.ค.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.พ.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ม.ค.2566

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ธ.ค.2565

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ พ.ย.2565

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ต.ค.2565

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ก.ย.2565

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ส.ค.2565

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2564

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2563

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2562

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2561

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2560

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2559

สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวัง อ.ผักไห่ ปี 2558

สถานการณ์โรคโคโรนาไวรัส(COVID-19)

ศูนย์ปฎิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโคโรนาไวรัส(COVID-19)สสจ.อย

สถานการณ์โรค สำนักระบาด

 

สถานการณ์ไข้ซิก้า(Zika)

สถานการณ์โรคอีโบล่า

สถานการณ์โรคเมอร์ส

วีดีโอความรู้เรื่องโรคเมอร์ส

แผ่นพับ โรคมือเท้าปาก

แผ่นพับ โรคไข้หวัดใหญ่

คู่มือ คนเลี้ยงสุนัข

ปฏิทิน

April 2024
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 1 2 3 4 5

สถิติการใช้งาน

Today103
Yesterday167
This week493
This month2858
Total112542

Visitor IP : 18.191.102.112 Visitor Info : Unknown - Unknown วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567 10:47

Who Is Online

Guests : One guest online Members : No members online
Powered by CoalaWeb

 

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
  หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันว่า  โรคกลัวน้ำ   เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ  เรบี่ส์ไวรัส (Rabies  Virus)  มีรูปร่างคล้ายกระสุนปืน  เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์แล้วจะเดินทางไปตามเส้นประสาทเข้า สู่สมอง ที่สำคัญ เมื่อเกิดอาการขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้  ต้องเสียชีวิตทุกราย แต่ โรคนี้ป้องกันได้และสามารถทำให้หมดไปจากคนและสัตว์เลี้ยง ในหลายประเทศยังมีผู้เสียชีวิตในพื้นที่ที่ควบคุมโรคในสุนัขไม่ได้  ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) กลุ่มสหวิชาชีพทั่วโรคได้ร่วมกันก่อตั้งองค์กรเพื่อการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า (Global Alliance for Rabies Control) ซึ่งต่อมาได้มีการกำหนดให้มีวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลกขึ้นในเดือนกันยายน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวต่อการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงสุนัขและป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกและองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศร่วมสนับ สนุน พร้อมใจกันกำหนดให้วันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็นวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก

 
ไม่ได้เกิดกับสุนัขเท่านั้น
ชื่อของโรคทำให้เข้าใจกันผิดคิดว่าโรคนี้เกิดกับสุนัขเท่านั้น  แท้ที่จริงแล้วโรคนี้เกิดกับสัตว์เลือดอุ่นด้วย  โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด  เช่น  แมว ชะนี ลิง กระรอก กระแต หนู ค้างคาว  แม้แต่สัตว์เศรษฐกิจอย่าง วัว ควาย ม้า สุกร พบในตัวที่มีประวัติเคยถูกสุนัขบ้ากัดมาก่อน  หรือสัตว์ป่าในเมืองไทยพบว่า  สุนัขเป็นตัวแพร่เชื้อที่สำคัญมากที่สุด กว่า 95% ของผู้เสียชีวิตมีสาเหตุมาจากสุนัข รองมาคือ  แมว
 
การติดต่อ
สุนัขและแมวที่ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า  สามารถแพร่เชื้อได้ทางน้ำลาย  เพราะเชื้อจะออกมาในน้ำลายเป็นระยะตั้งแต่ 1 – 7  วันก่อนแสดงอาการจนกระทั่งตาย  คนเราจะติดเชื้อนี้ก็ต่อเมื่อ
 
  • ถูกสัตว์ที่เป็นโรคนี้กัดหรือข่วน
  • ถูกสัตว์ที่เป็นโรคนี้เลียหรือน้ำลายสัตว์กระเด็นเข้าแผลรอยขีดข่วนหรือ เยื่อบุเมือกบุตา  จมูก  ปาก  (ถ้าน้ำลายถูกผิวหนังปกติ  ไม่มีรอยข่วนหรือบาดแผล  ไม่มีโอกาสติดโรค)
  • การติดต่อโดยการหายใจ  มีโอกาสน้อยมาก  ยกเว้นมีจำนวนไวรัสในอากาศเป็นจำนวนมาก  เช่น  ในถ้ำค้างคาว
  • การติดต่อโดยการกินเกิดขึ้นได้ยาก  ไม่เคยมีรายงานตามธรรมชาติ  เช่นเดียวกับการติดต่อจากคนไปสู่คน  ในธรรมชาติก็ไม่เคยมีรายงานเช่นกัน
อาการที่พบในสัตว์

ส่วนใหญ่สุนัข แมว วัว ควาย มีระยะพักตัวไม่เกิน 6 เดือน

ระยะเริ่มแรก  มีอาการประมาณ 2 – 3  วัน  โดยสุนัขจะมีอารมณ์และอุปนิสัยเปลี่ยนไปจากเดิม  เช่น  สุนัขที่ชอบคลุกคลีกับเจ้าของ  จะปลีกตัวออกไปหลบซุกตัวเงียบๆ  มีอารมณ์หงุดหงิด ตัวที่เคยขลาดกลัวคนก็จะกลับมาคลอเคลีย  เริ่มมีไข้เล็กน้อย  ม่านตาขยายกว้างกว่าปกติ  การตอบสนองต่อแสงของตาลดลง  กินข้าวกินน้ำน้อยลง  ลักษณะการเคี้ยวหรือกลืนผิดไป

ระยะตื่นเต้น  คือ  เริ่มมีอาการทางปราสาท  สุนัขจะกระวนกระวาย  ตื่นเต้น  หงุดหงิด  ไม่อยู่นิ่ง  
กัด แทะสิ่งของ  สิ่งแปลกปลอม  กัดทุกสิ่งไม่เลือกหน้า  ถ้ากักขังหรือล่ามไว้  จะกัดกรงหรือโซ่จนเลือดกบปาก  โดยไม่เจ็บปวด  เสียงเห่าหอนจะเปลี่ยนไป  ตัวแข็ง 

ระยะอัมพาต  สุนัขจะมีคางห้อยตก  ลิ้นมีสีแดงคล้ำห้อยออกนอกปาก  น้ำลายไหล  และไม่สามารถใช้ลิ้นได้เลย  สุนัขอาจแสดงอาการขยอกหรือขย้อนคล้ายมีอะไรอยู่ในลำคอ  ขาอ่อนเปลี้ยทรงตัวไม่ได้  ล้มลงแล้วลุกไม่ได้  อัมพาตขึ้นทั่วตัวอย่างรวดเร็วและตายในที่สุด อาการสุนัขบ้ามีทั้งแบบดุร้ายและแบบซึม

  สุนัข ที่แสดงอาการแบบดุร้าย จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นให้เห็นเด่นชัดและยาวนาน  แต่จะแสดงอาการในระยะอัมพาตสั้นมาก 
    ที่แสดงอาการแบบซึม จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้นมากจนไม่ทันสังเกตเห็น  แต่จะแสดงอาการในระยะอัมพาตเด่นชัด
  แมว อาการคล้ายสุนัขแต่ไม่ชัดเจน  และพบอาการแบบดุร้ายมากกว่าแบบซึม สุนัขและแมวที่เป็น   โรคพิษสุนัขบ้าจะแสดงอาการป่วยจนกระทั้งตายไม่เกิน 10 วัน
  โค กระบือ อาการจะตื่นเต้น กระสับกระส่าย  เดินโซเซ  มักมีอาการคล้ายมีอะไรติดคอ  น้ำลายไหลยืด  ท้องอืดป่อง  อัมพาตและตาย
 
ระยะฟักตัวของโรค
หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่เชื้อเข้าร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการบางรายอาจนานเกิน 1 ปี  บางรายอาจเร็วเพียง 4 วัน  แต่โดยเฉลี่ย 3 สัปดาห์ถึง 4 เดือน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
 
  1. จำนวนเชื้อที่เข้าไป (บาดแผลใหญ่ ลึกหรือมีหลายแผล มีโอกาสที่เชื้อจะเข้าไปได้มาก)
  2. ตำแหน่งที่เชื้อเข้าไป (ถ้าอยู่ใกล้สมองมาก  เชื้อก็จะเดินทางไปถึงสมองได้เร็วหรืออยู่ในที่มีปลายประสาทมาก  เช่น  มือหรือเท้า  เชื้อก็จะเข้าสู่ระบบประสาทได้ง่าย)
  3. อายุคนที่ถูกกัด
    (เด็กและคนชราจะมีความต้านทานของโรคต่ำกว่าคนหนุ่มสาว)
  4. สายพันธุ์ของเชื้อ  ถ้าเป็นสายพันธุ์จากสัตว์ป่า  จะมีอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์จากสุนัข
อาการที่พบในคน
สำหรับอาการของคนที่ได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า  ส่วนใหญ่มีอาการของสมองอักเสบ  และไขสันหลังอักเสบ  โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย  ต่อมามีอาการคัน  มักเริ่มจากบริเวณแผลที่ถูกกัด แสบๆ ร้อนๆ แล้วลามไปส่วนอื่น  บางคนคันมากเกาจนกลายเป็นแผลอักเสบ  มีน้ำเหลือง  ต่อมาจะกระสับกระส่าย  กลัวแสงกลัวลม  ไม่ชอบเสียงดัง  เพ้อเจ้อ  หลุกหลิก  กระวนกระวาย  หนาวสั่น  ตามักเบิกโพลงบ่อยๆ บางครั้งเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคทางจิต  มีอาการกลืนลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเหลว  จะเกิดอาการปวดเกร็งทำให้ไม่อยากดื่มน้ำมีอาการกลัวน้ำ  จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  โรคกลัวน้ำ  ไม่อยากกลืนแม้กระทั่งน้ำลาย จึงทำให้น้ำลายไหล  บางคนอาจปวดท้องน้อยและขา  คนไข้เพศชายบางรายมีน้ำอสุจิไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว  กล้ามเนื้อกระตุก  แน่นหน้าอก  หายใจไม่ออกหรืออาจชักเกร็ง  อัมพาต  หมดสติและตายในที่สุด
 
เมื่อถูกกัดทำอย่างไร
ถ้าถูกสุนัขบ้ากัด  หรือสงสัยว่าบ้ากัด  ข่วน  หรือเลียตามบาดแผล  ให้รีบปฏิบัติดังนี้
 
  1. รีบล้างแผลให้เร็วที่สุดด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ  ครั้ง  ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ  เพราะจะทำให้เชื้อโรคต่างๆ  ที่บริเวณนั้นหลุดออกจากแผลไปตามน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า  หรือเชื้อโรคอื่นๆ  แล้วเช็ดแผลให้แห้ง  ใส่ยาฆ่าเชื้อ  เช่น  โพวิโดนไอโอดีน  ถ้าไม่มีอาจใช้แอลกอฮอล์ 70%  หรือทิงเจอร์ไอโอดีน  หรือยาฆ่าเชื้ออื่นๆ  แทน
  2. ต้องจดจำลักษณะและสังเกตอาการสัตว์ที่กัด  รวมทั้งติดตามสืบหาเจ้าของเพื่อซักถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้า  ที่มาของสัตว์และสังเกตอาการสัตว์ที่กัด 10 วัน (สุนัขคอกเดียวกัน พันธุ์เดียวกัน  สีเดียวกัน  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  อาจจำผิดตัวได้)
  3. ไปพบแพทย์เพื่อรับการป้องกันรักษาที่ถูกต้อง  ถ้ามีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า  แพทย์จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในปัจจุบัน
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ใช้ฉีดคนในปัจจุบันไม่ต้องฉีดรอบสะดือทุกวัน เหมือนแต่ก่อนแล้ว ฉีดเพียง 4 – 5 เข็ม  ฉีดได้ทั้งในเด็กและสตรีมีครรภ์

 

ข้อแนะนำเมื่อถูกสุนัข หรือแมวกัด

 

►ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด-ฟอกสบู่ โดยเร็ว

พบแพทย์เพื่อพิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำแผล และรับการรักษา

►มารับวัคซีน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ตรงวันนัด

►กักสุนัขและดูอาการสุนัขหรือแมว 10- 14วัน ถ้าสุนัขหรือแมวปกติดี ให้หยุดฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้

►ถ้าสุนัข/แมวมีอาการผิดปกติ หนีหายหรือตาย ภายใน 10-14วัน ให้สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ต้องรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามนัดต่อให้ครบ

(กรณีถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นกัด เช่น ลิง กระรอก ค้างคาว ให้ฉีดวัคซีนให้ครบตามนัด)

►มารับการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลผักไห่ครั้งต่อไป โปรดติดต่อห้องบัตรพร้อมบัตรนัด ทุกครั้ง (มานอกเวลาราชการได้)

►สอบถามโทร.035-391306 ต่อ146  ร.พ.ผักไห่

 

****สุนัขกัด ล้างแผล ใส่ยา กักสุนัข พบหมอ****

*********

 

โรคตาแดง  หมายถึงเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อมักติดต่อกันได้ง่าย  เชื้อที่ทำให้เกิดโรคตาแดงที่พบได้บ่อยได้แก่  เชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรีย
          เยื่อบุตาหมายถึงส่วนที่เป็นตาขาว  ลักษณะเป็นเยื่อบางๆ สีขาว  ห่อหุ้มลูกตาด้านนอก  เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นจะเห็นเป็นสีแดง  มากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ

 


โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส
          เป็นโรคระบาดทางตาที่พบได้บ่อย  มักมีการระบาดเป็นช่วงๆ  เป็นประจำทุกปี  ส่วนใหญ่เป็นในช่วงฤดูฝนติดต่อกันได้ง่ายและรวดเร็ว  การติดต่อของโรคเกิดโดยตรงจากการสัมผัส  การใช้ของร่วมกัน  การไอจาม  แม้กระทั่งการหายใจรดกันก็อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายได้  หลังจากได้รับเชื้อแล้วจะทำให้เกิดอาการภายใน 1-2 วัน  และเมื่อเกิดเป็นตาแดงขึ้น  จะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นนานถึง 2 สัปดาห์
อาการ
          ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการตาแดงอย่างเฉียบพลัน  เคืองตามาก  เคืองแสง  เจ็บตา  น้ำตาไหล  ตาบวม  มักไม่มีขี้ตาหรือมีขี้ตาเป็นเมือกใสๆ  เล็กน้อย  ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาจึงจะมีขี้ตามาก  บางคนมีต่อมน้ำเหลืองหน้าใบหูโตและเจ็บ  ผู้ที่เป็นตาแดงมักเป็นกับตาข้างหนึ่งก่อน  ต่อมาอีก 2-3 วัน  อาจลุกลามเป็นกับตาอีกข้างหนึ่งได้  ระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน
          ในบางรายเมื่ออาการตาแดงดีขึ้น  อาจเกิดมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้  คือ  กระจกตาอักเสบ  (กระจกตา หมายถึง  ส่วนที่เป็นตาดำ  ลักษณะเป็นวงกลมอยู่ตรงกลางลูกตาด้านหน้า)  โดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการตามัวลง  และยังเคืองตาอยู่ทั้งๆ ที่อาการดีขึ้นแล้ว  มักเกิดในช่วงวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง  กระจกตาอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเป็นนานเป็นเดือนกว่าจะ หาย
การรักษา
          เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส  จึงยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ  ยาต้านไวรัสต่างๆ  ที่มีอยู่ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสชนิดนี้  ส่วนใหญ่จึงให้การรักษาตามอาการ  เช่น
          • ให้ยาปฏิชีวนะหยอดตาและป้ายตา  เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดตามมา  หยอดยาเฉพาะตาข้างที่เป็น  ไม่ควรหยอดตาข้างที่ยังไม่เป็น  เพราะจะเป็นการแพร่เชื้อไปยังตาข้างนั้นและไม่ควรใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น
          • ถ้าตาอักเสบมาก  แพทย์อาจพิจารณาให้ยาหยอดลดอาการอักเสบ
          • รับประทานยาแก้ปวด  เช่น  ยาพาราเซตามอลถ้ามีอาการเจ็บตา  เคืองตา
          • ถ้ามีขี้ตา  ให้ใช้สำลีชุบน้ำสะอาด  เช่น  น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว  เช็ดบริเวณเปลือกตาให้สะอาด  ใส่แว่นกันแดด  เพื่อลดอาการเคืองแสง  ไม่ควรใช้ผ้าปิดตาเพราะจะยิ่งทำให้การติดเชื้อเป็นมากขึ้น  งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าจะหายอักเสบ  พักผ่อนให้เต็มที่และพักการใช้สายตา
 

การป้องกัน
          การป้องกันการติดโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส  เป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องจากติดต่อกันได้ง่ายมาก  และเมื่อเป็นแล้วก็ยังไม่มียาที่รักษาได้โดยตรง  มักติดต่อในกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน  ทำงานร่วมกัน  การป้องกันไม่ให้มีการระบาดแพร่กระจายโรคสามารถทำได้โดย
          • การแยกผู้ป่วย  เช่นเด็กเล็กที่ยังไม่รู้จักป้องกันการแพร่กระจายโรค  ควรให้หยุดเรียน  และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก  ควรหยุดงาน
          • ผู้ที่เป็นไม่ควรจับต้องบริเวณดวงตา  หรือขยี้ตาเพราะเชื้อโรคอาจติดไปยังสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ได้และไม่ใช้สิ่งของ  เช่น  ผ้าเช็ดหน้า  ผ้าเช็ดมือ  เสื้อผ้าปะปนกับผู้อื่น  ไม่พูดไอจามรดผู้อื่น
          • ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด


โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย
          โรคตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย  ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุตาเช่นเดียวกับเชื้อไวรัส  ผู้ที่เป็นจะมีอาการตาแดง  เคืองตา  เจ็บตา  มีขี้ตามากลักษณะข้นๆ แบบหนอง  ตื่นนอนตอนเช้ามักมีขี้ตามากจนทำให้เปลือกตาติดกัน  อาการมักไม่เฉียบพลันและรวดเร็วเท่าโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส  โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อจึงติดต่อไปยังผู้อื่นได้และพบว่าเป็นได้เรื่อยๆ  โดยไม่ต้องมีการระบาดเป็นช่วงๆ



   
          โรคนี้สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตาและป้ายตาในช่วงแรก  ถ้าเป็นมากแพทย์มักสั่งให้หยอดยาบ่อยๆ  เช่นทุก 1-2 ชั่วโมง  ถ้าอาการดีขึ้นแล้วให้หยอดยาห่างขึ้นเป็นหยอดทุก 4-6 ชั่วโมง  ส่วนยาขี้ผึ้งป้ายตามักให้ป้ายก่อนนอนเพื่อให้ได้รับยาต่อเนื่องไปตลอดทั้ง คืน  ยาขี้ผึ้งป้ายตาถ้าใช้ในเวลากลางวันจะรบกวนการมองเห็น  จึงไม่ค่อยสะดวกในการใช้  ยกเว้นในเด็กเล็ก  หลังการใช้ยาอาการมักดีขึ้นภายใน 2-3 วัน  และหายภายใน 1 สัปดาห์  การดูแลรักษาอื่นๆ  และการป้องกันให้ปฏิบัติในทำนองเดียวกับโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส
          อาการตาแดง  นอกจากจะเกิดจากโรคตาแดงดังได้กล่าวมาแล้ว  ยังสามารถพบอาการนี้ในโรคตาอื่นๆ  อีกหลายโรค  โดยมีลักษณะของเยื่อบุตาเป็นสีแดงๆ คล้ายคลึงกัน  บางโรคเป็นโรคที่มีอันตรายอาจทำให้เกิดการสูญเสียสายตาได้  เช่น  ต้อหิน  กระจกตาติดเชื้อ  ม่านตาอักเสบดังนั้นเมื่อเกิดมีอาการตาแดงขึ้น  ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์  ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง

       

กลุ่มระบาดวิทยาโรคติดต่อ

ลักษณะโรค
โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ใน 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 (2,500 ล้านคน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งเป็น single - strand RNA จัดอยู่ใน genus Flavivirus และ family Flaviviridae มี 4 serotypes คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 ทั้ง 4 serotypes มี antigen ร่วมบางชนิด จึงทำให้มี cross reaction และ cross protection ได้ในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีชนิดหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีชนิด นั้นตลอดไป (long lasting homotypic immunity) และจะมีภูมิคุ้มกัน cross protection ต่อชนิดอื่น (heterotypic immunity) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6-12 เดือน ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุมอาจมีการติดเชื้อ 3 หรือ 4 ครั้งได้
วิธีการติดต่อ
โรคไข้เลือดออกเดงกีติดต่อกันได้โดยมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นแมลงนำโรคที่สำคัญ และในชนบทบางพื้นที่ จะมียุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นแมลงนำโรคร่วมกับยุงลายบ้าน เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย พร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นป่วยได้
ระยะฟักตัว
ระยะเพิ่มจำนวนของไวรัสเดงกี ในยุง ประมาณ 8-10 วัน
ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเดงกี ในคน ประมาณ 3-14 วัน โดยทั่วไปประมาณ 5-8 วัน
ระยะติดต่อ
โรคไข้เลือดออกเดงกีไม่ติดต่อจากคนสู่คน ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นแมลงนำโรค การติดต่อจึงต้องใช้เวลาในผู้ป่วยและในยุง ระยะที่ผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 จะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก ระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อจากคนสู่ยุง และระยะเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในยุงจนมากพออีกประมาณ 8-10 วัน จึงจะเป็นระยะติดต่อจากยุงสู่คน
อาการและอาการแสดง
หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้ายไข้เดงกี (dengue fever: DF) ไปจนถึงมีอาการรุนแรง (dengue hemorrhagic fever: DHF) และรุนแรงมาก จนถึงช็อกและเสียชีวิต (dengue shock syndrome: DSS)
ผู้ป่วยมีอาการได้ 3 แบบ คือ
  1. Undifferentiated fever (UF) หรือกลุ่มอาการไวรัส
  2. ไข้เดงกี (Dengue fever - DF)
  3. ไข้เลือดออกเดงกี (Dengue hemorrhagic fever - DHF)
โรคไข้เลือดออกเดงกี มีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ดังนี้
  1. ไข้สูงลอย 2-7 วัน
  2. มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง
  3. มีตับโต กดเจ็บ
  4. มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว/ภาวะช็อก
การดำเนินโรคของโรคไข้เลือดออกเดงกี แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้ ระยะวิกฤต/ช็อก และระยะฟื้นตัว
  1. ระยะไข้
    ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง (flushed face) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรืออาการไอ เบื่ออาหาร อาเจียน และไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน อาจพบมีผื่นแบบ erythema หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้ อาการเลือดออกที่พบบ่อยคือ ที่ผิวหนัง การทำ tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) ส่วนใหญ่จะคลำตับ โต ได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
  2. ระยะวิกฤติ/ช็อก
    ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี จะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง และจะเสียชีวิตภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีภาวะช็อก
  3. ระยะฟื้นตัว
    ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีจะฟื้นตัวอย่างรวด เร็ว ระยะฟื้นตัวมีช่วงเวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
ระบาดวิทยาของโรค
มีรายงานการระบาดของไข้เดงกี (DF) ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2322-2323 ในเอเชีย อาฟริกา และอเมริกาเหนือ ต่อมาการระบาดของไข้เลือดออก (DHF) ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มมีรายงานการเกิดโรคจากภูมิภาคแปซิฟิก อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การระบาดใหญ่เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2497 ปัจจุบันพบไข้เลือดออกทั้งในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น (subtropical) ในทวีปอาฟริกา ทวีปอเมริกา ประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก
ประเทศไทยเริ่มพบโรคไข้เลือดออกประปราย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2492 และการระบาดใหญ่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในเขตกรุงเทพ-ธนบุรี สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501-2545 มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และมีการระบาดหลายลักษณะ เช่น ระบาดปีเว้นปี ปีเว้น 2 ปี หรือระบาดติดต่อกัน 2 ปี แล้วเว้น 1 ปี แต่ในระยะ 15 ปีย้อนหลัง ลักษณะการระบาดมีแนวโน้มระบาด 2 ปี เว้น 2 ปี ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะอยู่ในกลุ่มอายุ 0-14 ปี อัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 5-9 ปี อัตราส่วนผู้ป่วยเพศหญิงต่อเพศชายใกล้เคียงกัน พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี จึงให้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ แพทย์ผู้รักษาจะต้องเข้าใจธรรมชาติของโรค และให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จะต้องมีการดูแลรักษาพยาบาลที่ดีตลอดระยะวิกฤต คือ ช่วง 24-48 ชั่วโมง ที่มีการรั่วของพลาสมา หลักในการรักษามีดังนี้
  1. ในระยะไข้สูง บางรายอาจมีอาการชักได้ถ้าไข้สูงมาก ให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน, ibrupophen, steroid เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายกระเพาะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
  2. ให้ผู้ป่วยได้สารน้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและเกลือโซเดียม ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่
  3. ติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา
  4. ดูการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและ hematocrit เป็นระยะๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลง และ hematocrit เริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าน้ำเหลืองรั่วออกจากเส้นเลือดและอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกหรือเลือดออก แพทย์จะต้องให้การรักษาเพื่อแก้ไขสภาวะดังกล่าว ด้วย สารน้ำ พลาสมา หรือสาร colloid อย่างระมัดระวัง เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยและป้องกันโรคแทรกซ้อโรคไข้เลือดออก

ผู้อำนวยการ

 

นายแพทย์วัชระ  รักวาทิน

ผู้อำนวยการโรงพยาบาล

โทร.035391306ต่อ112

ประกาศจัดซื้อ / จัดจ้าง

ชมรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

ร้องเรียน/คิดเห็น

 

ประกาศประกวดราคา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

share